โรคหัดในเด็ก ภัยร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

โรคหัดในเด็กเป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 6 ปี ซึ่งโรคนี้หากเกิดภาวะแทรกซ้อนก็อาจทำให้ได้รับอันตรายร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โรคหัดคือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ที่เกิดจากไวรัสที่สามารถแพร่เชื้อและติดต่อกันได้ผ่านทางอากาศหรือการสัมผัสน้ำมูก และน้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง ซึ่งเชื้อไวรัสตัวนี้จะเข้ามาทางระบบทางเดินหายใจก่อนแล้วจึงแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย

โดยส่วนใหญ่แล้วมักเกิดในเด็กเล็ก ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กมากที่สุด แม้จะมีวัคซีนฉีดป้องกันโรคแล้วก็ตาม มีไข้ อ่อนเพลีย มีผื่น อาจเป็นอาการของโรคหัด โรคหัดเป็นการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ measles virus ซึ่งก่อโรคเฉพาะในคนเท่านั้น เมื่อได้รับเชื้อแล้วจะทำให้มีอาการไข้ อ่อนเพลีย ไอ น้ำมูก ตาแดงอักเสบ เมื่อตรวจร่างกายจะพบลักษณะผื่นจำเพาะบริเวณกระพุ้งแก้มด้านใน ที่เรียกว่า Koplik spot และจะมีผื่นจุดแดงตามตัว ซึ่งระยะฟักตัวของโรคจะอยู่ที่ 7-21 วัน ส่วนใหญ่จะพบผื่นประมาณ 14 วัน หลังได้รับเชื้อ ผื่นจะเริ่มจากบริเวณศีรษะไปยังลำตัว แขน ขา ระยะแพร่เชื้อของผู้ป่วยเริ่มจาก 4 วันก่อนผื่นขึ้น และ 4 วันหลังจากผื่นขึ้น แต่บางครั้งในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจจะไม่พบผื่นก็ได้ อาการแทรกซ้อนที่มักเกิดกับโรคโรคหัด โดยส่วนใหญ่แล้วอาการแทรกซ้อนที่พบบ่อย ได้แก่ หูชั้นกลางอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ท้องเสีย

Scroll to Top